The Orang jessamine, This one of the about often used shrubs in new gardens, and for good reasons. It has pretty, light bad foliage, tolerates most conditions, and regularly clusters of small but strongly fresh good flowers, followed by small, brightness touched take. It makes a best hedge or back plant, geting in intermediate a small tree up to 12 Ft long, or it can be clipped into certain shapes, though this will reduce the second of flowers. In Southeast Asia, the most profuse flowers get during the rainy season. It prefers good sun but will have in part dark, in most any build of soil. It also does just as a can stock in greenhouses.
โดยปกติ เราเป็นคนที่ชอบต้นแก้ว (Orang jessamine) มากๆ ค่ะ...เมื่อตอนที่ย้ายมาอยู่บ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันก็ไปซื้อมาปลูกไว้หนึ่งต้น อยู่มาได้ประมาณเกือบๆ ปี มันก็ไม่ยอมโต ด้วยความหวังดีของพ่อปู่เรา ท่านช่วยดูแลตามประสาคนแก่ค่ะ(อายุ 80 กว่าละ) เกิดความสงสัยว่า ทำไม๊ ทำไม มันไม่ยอมโต ท่านก็เลยขุดมันขึ้นมา ในวันที่เราไม่ทันระวังตัวค่ะ แล้วก็มารายงานเราว่า น้ำมันท่วมรากอยู่ข้างล่าง ถ้าพ่อไม่ขุดขึ้นมามีหวังมันตายแหง๋ ...ผ่านไปครั้งที่หนึ่ง...มาดูสภาพต้นแก้วที่เราพูดถึงกันค่ะ...จะตายมิตายแหล่
แล้วก็ด้วยความหวังดีของท่านค่ะ ก็เฝ้าเพียรดูแล จ้องมองมันทุกวัน...จนเช้าสายๆ วันหนึ่ง เราก็เห็นต้นแก้วทั้งต้น แช่น้ำอยู่ในกะละมัง แล้วก็มีเสียงจากพ่อเรารายงานมาว่า ดูท่ามันจะไม่รอดก็เลยขุดมันขึ้นมาดูรากว่าเป็นยังไงบ้าง...ดูเหมือนรากมันจะแห้งแล้วนะ พ่อลองขูดดูละ... พระเจ้า !! โอเคเลยค่ะพ่อ...เดี๋ยวจัดการเองนะคะ.. พ่ออยู่เฉยๆ
นี่คือตอนที่เราไปซื้อดินมาปลูกใหม่...ประคบประหงมต้นแก้วของเราให้ฟื้นมีชีวิตชีวาอีกครั้งค่ะ ก็ใช้ดินที่เขาขายกันธรรมดานี่แหละค่ะ ถ้าเป็นดินที่บรรจุมาใหม่ๆ หรือถ้าเราจับดูแล้วรู้สึกมันออกร้อนๆ ให้ผึ่งดินไว้สักพักหนึ่งก่อนนะคะ ไม่งั้นประเดี๋ยวต้นไม้ของเรามันจะช๊อกเอา...ลองก้นกระถางด้วยใบไม้แห้งธรรมดาๆ เก็บเอาแถวๆ นั้นแหละค่ะ ถ้ามีปุ๋ยก็ใส่ลงไปนิดหน่อย จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ไม่ต้องมากค่ะ ถ้าเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้สูตร 15-15-15 ค่ะ แล้วก็ดูแลรดน้ำทุกวันตอนเช้า...เอาใจเขาหน่อยค่ะ หลังจากที่เกือบจะสิ้นชีวีซะแล้ว
ธรรมชาติของต้นแก้ว (
Orang jessamine) เป็นต้นไม้ที่ดูแลง่ายค่ะ เพราะทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ (เราเป็นคนขี้เกียจก็เลยชอบต้นไม้ดูแลง่ายๆ แบบนี้ค่ะ) ไม่ต้องไปดูแลอะไรมาก มันก็จะเจริญเติบโตไปของมันได้เอง ชอบแสงแดดค่อนข้างจัด ปริมาณน้ำปานกลางค่ะ บางวันไม่รดน้ำก็ไม่เป็นไร แต่อย่าทิ้งไว้นานเวลาอากาศร้อนจัดนะคะ ต้นแก้วจะแสดงอาการคออ่อนให้เห็นทันที
ขนาดของต้นก็สูงไม่เท่าไหร่ ประมาณ 5-10 เมตร เท่านั้นเอง ที่เคยปลูกอยู่ส่วนมากจะอยู่ในกระถางก็จะประมาณ 2 เมตรเท่านั้นค่ะ (อยู่ที่บ้านที่โคราชโน่น) ลำต้นมี สีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาว การแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกัน ช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรง เคยลองขยี้กันดูป่ะคะ ไปลองดูค่ะ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งก็จะมีดอกประมาณ 5-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีกลิ่นหอม ยิ่งตอนเช้าๆ ออกมานั่งจิบกาแฟใกล้ๆ ต้นแก้ว บรรยากาศดีมากๆ เลยค่ะ มีลมโชยอ่อนๆ กับเสียงนกร้อง เราก็จะมีมื้อเช้ากับกาแฟที่สุดแสนจะมีความสุขแล้วค่ะ ชอบที่สุด
ผลของต้นแก้วจะมีมีลักษณะเป็นรูปไข่รีๆ ปลายทู่ สีส้ม ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ แต่ก็ยังไม่เคยลองเลย ว่าจะหาเวลาลองเพาะเมล็ดดูเหมือนกันค่ะ ทำเมื่อไหร่จะเก็บมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
มีเรื่องเล่าของความเป็นมงคลของต้นแก้ว (
Orang jessamine) ด้วยนะคะ ว่ากันว่า ถ้าปลูกต้นแก้วไว้ที่บ้าน คนในบ้านจะมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว ก็เป็นมงคลแล้วใช่ป่ะคะ เพราะมันหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูง เป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไป ซึ่งโบราณได้เปรียบเทียบของมีค่าว่าเปรียบเสมือนดั่งดวงแก้ว เพื่อนๆ น่าจะเคยได้ยินกัน ...
ยังไม่หมดค่ะ ยังมีความเชื่อต่อไปอีกว่า ถ้าบ้านใดปลูกแก้วไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นคนมีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน (ท่าจะจริงนะ เพราะเราก็รู้สึกอย่างนั้นเวลามานั่งจิบกาแฟใกล้ๆ ต้นแก้ว) เพราะแก้วคือความสะอาดสดใส นำไปบูชาพระก็เป็นสิริมงคลดีค่ะ แต่ถ้าเด็ดดอกแก้วจากต้นแล้วดอกแก้วจะไม่ค่อยทนนะคะ
แถมชื่อที่เป็นวิชาการเข้าไปหน่อยละกันนะคะ
ชื่อสามัญของต้นแก้วคือ Orang jessamine
ชื่อวิทยาศาสตร์ Muraya paniculata.ตระกูล PUTACEAE
เอาไว้เจอกันคราวหน้าค่ะ...มีเรื่องสนุกๆ จะเก็บมาลงไว้ให้อ่านกันนะคะ
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment